อย่างที่ทราบกันดีว่าสมุนไพรในธรรมชาตินั้นมีอยู่มากมายหลากหลายชนิด อีกทั้งยังมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรคอันกว้างขวางตั้งแต่โรคเล็กน้อยไปจนถึงอาการหนักๆ และขมิ้นชันเองก็เช่นกัน โดยสารสำคัญที่เป็นเหมือนแหล่งรวบรวมคุณประโยชน์ของเจ้าขมิ้นชันนั่นก็คือ สารเคอร์คูมินอยด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญของขมิ้นชันที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้
เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) เป็นสารผลึกสีเหลืองอมส้มที่ที่สกัดได้จากเหง้าของขมิ้นชัน (turmeric) โดยจะมีสาร สารประกอบหลักแยกออกมาเป็น 3 ชนิดของเคอร์คูมินอยด์ ได้แก่
- เคอร์คูมิน (CURCUMIN)
- บิสเดเมทอกซีเคอร์คูมิน ( BISDESMETHOXYCURCUMIN)
- เดเมทอกซีเคอร์คูมิน (DESMETHOXYCURCUMIN)
จากการวิจัยและทดลองมาอย่างยาวนานทำให้เกิดการค้นพบว่าเจ้าสารสำคัญเหล่านี้ที่อยู่ภายในขมิ้นชันนั้นมีมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น
- มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถในการนำมารักษาบาดแผล
- มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ กำจัดเชื้อแบคทีเรีย
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- มีฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษ
- ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ป้องกันภาวะสมองเสื่อม
- และสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากขมิ้นชันนั้นมีสรรพคุณในการขัดขวางการแบ่งตัว การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเรง ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยสารจากขมิ้นใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งระบบปัสสาวะ มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเน็งกระดูก มะเร็งเนื้อเยื่อบริเวณศรีษะและคอ อีกทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังอักเสบจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีเพื่อการรักษา
ที่มา : CURCUMIN and IPCT การผสมผสานเพื่อประโยชน์แห่งการรักษามะเร็ง – Blog (absolute-health.org)
ปริมาณที่สามารถทานเคอร์คูมินได้ต่อวัน
สารเคอร์คูมินนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณ์ หรือขนาดการบริโภคต่อวัน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาได้มีประกาศ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ระบุว่าให้ใช้สารเคอร์คูมินอยด์ (เคอร์คูมิน) จากเหง้าขมิ้นที่สกัดด้วยน้ำและสกัดด้วยน้ำและเอทานอลในปริมาณไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน”
โทษของสารเคอร์คูมิน
พิษและผลข้างเคียงของการใช้สารเคอร์คูมินนั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้สารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ในขนาดสูงอาจมีผลต่อการทำงาน และโครงสร้างตับได้แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้เคอร์คูมินอยด์ และการรับประทานเคอร์คูมินในปริมาณที่สูงมากเกินกว่าที่ระบุให้รับประทานนั้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อการตายของเซลล์เยื่อบุจอตาได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยด้านพิษวิทยาของสารเคอร์คูมินและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์พบว่าให้ผู้ป่วนมะเร็งรับประทานเคอร์คิวมินสูงถึง 8 กรัมต่อวัน แต่ไม่พบว่าเกิดผลข้างเคียงใดๆ หรือเป็นพิษต่อผู้ป่วย
ที่มา : เคอร์คูมิน (disthai.com)
ปัญหาสำคัญ และการรับประทาน
แม้ว่าขมิ้นชัน หรือสารเคอร์คูมินอยด์นั้นจะมีประโยชณ์ในการรักษาโรคต่างๆได้อย่างมากมาย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การทำละลายของสารเคอร์คูมินอยด์นั้นมีอยู่ต่ำมาก จึงทำให้วิธีที่มักจะใช้ในการบริโภคเพื่อให้ได้รับสารเคอคูมินอยด์เข้าสู่ร่างกายมักจะทำโดยการให้ทางหลอดเลือดดำ แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดค้นนวัตกรรมในการทำละลายสารเคอร์คูมินอยด์ออกมาหลากหลายงานวิจัย และหากจะรับประทานสารสกัดแล้วได้รับความสามารถของตัวสารอย่างครบถ้วนก็จะต้องสังเกตุที่งานวิจัยของสินค้าเหล่านั้นว่ามีควาสามารถในการทำละลายหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด ก็จะช่วยเป็นวิธีการในการเลือกซื้อขมิ้นชันสกัดเหล่านั้นได้
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
GreenCurmin และ CurmaMax
GreenCurmin และ CurmaMax ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยนวัตกรรมจนสามารถทำละลายขมิ้นชันได้อย่างสมบูรณ์ จึงสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีพริกไทยดำเป็นส่วนประกอบเสริมภายในแคปซูล จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองนั้น สามารถทำงานได้จนถึงขีดสูงสุดของการดูแลรักษา จากการผสมผสานของ ขมิ้นชัน กับ พริกไทย อีกทั้งยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เป็นธรรมชาติ และมีประโยชณ์ต่อร่างกายอีกด้วย
dG Curmin ดีจีเคอมิน ขมิ้นชันนาโน
นวัตกรรมสมุนไพรไทย เป็นงานวิจัย สารสกัดจากธรรมชาติ100% ละลายน้ำได้ดีมากกว่าขมิ้นชันทั่วไปถึง 40,000 เท่า ให้ขมิ้นชันมาต่อ 1 แคปซูลมากกว่าเจ้าอื่นโดยให้มามากถึง 100 มิลลิกรัม อีกทั้งยังมีส่วนประกอบจากสมุนไพรอื่นๆเพิ่มเข้ามาอีกถึง 5 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น พริกไทยดำ ซึ่งช่วยให้การออกฤทธิ์ของขมิ้นชันทำได้ดีมากยิ่งขึ้น , สารสกัดจากตังกุย , สารสกัดจากอยเชยเทศ , สารสกัดจากขิง , สารสกัดจากกระเพรา
บทความโดย TheGreenCurmin