เมื่อพูดถึงโรคกระเพาะอาหารคงจะมีน้อยคนที่ไม่รู้จักเจ้าโรคนี้ เพราะเป็นโรคที่คนในปัจจุบันนั้นเป็นกันมาก ไม่ว่าจะทั้งในเด็ก ในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุก็ตาม ก็สามารถเป็นกันได้
แต่โรคที่เกิดภายในกระเพาะนั้นมีหลากหลายโรค และอาจจะเกิดการเข้าใจผิดกันได้ เช่นกรดไหลย้อนที่จะเกิดขึ้นที่ทางเดินอาหารซึ่งอยู่ใกล้กับกระเพาะอาหาร หรือจะเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และอีกหลายโรคซึ่งท่าหากไม่ทำความเข้าใจให้ดีการรักษาโดยผิดวิธีก็อาจจะไม่ช่วยให้อาการของเรานั้นดีขึ้น หรืออาจจะทำให้อาการของเรายิ่งแย่ลงจนเกิดเป็นอันตรายได้
โรคกระเพาะ คืออะไร
จริงๆแล้วโรคกระเพาะนั้นคือโรคที่เกิดจากการมีแผลในกระเพาะอาหาร แผลที่ลำใส้เล็ก หรือลำใส้เล็กอักเสบ หรือกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งจะแตกต่างจาก โรคกรดไหลย้อน ซึ่งจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับ กรดในกระเพาะอาหาร ที่ไหลย้อนกลับไปยังทางเดินอาหาร โรคกรดไหลย้อนจึงจะเกิดขึ้นระหว่างกระเพาะอาหารไปยังทางเดินอาหาร จนถึงช่วงลำคอแน
สาเหตุของโรคกระเพาะ
สำหรับโรคกระเพาะนั้น เมื่อหลายๆท่านเกิดปวดท้องขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเป็นโรคกระเพาะหลายๆคนก็จะมาตีความเอาว่า น่าจะมาจากการอดอาหาร การทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานน้อย หรือทานของที่ไม่ดีต่อร่างกายและกระเพาะเข้าไป จึงกลายเป็นโรคกระเพาะแต่จะจริงหรือไม่ และมีเหตุผลอื่นๆอีกหรือปล่าวที่จะนำเราไปสู่การเป็นโรคกระเพาะมาลองทำการสำรวจกันดูดีกว่า ว่าเพราะเหตุเหล่านี้หรือไม่ ที่ทำให้เรานั้นกลายเป็นโรคกรเพาะ
จริงๆแล้วการเกิดโรคกระเพาะนั้นมีสาเหุตที่หลากหลายมาก และไม่ใช่เพียงแต่การอดอาหารหรือการทานอาหารไม่ตรงเวลาแต่โดยปกติแล้วจะเกิดจากการที่ระบบภายในกระเพาะของเรานั้นผิดปกติซึ่งก็สามารถผิดปกติได้จากหลายสาเหตุ แต่จะของแบ่งการเกตุ โรคกรเพา ะออกอย่างง่ายๆเป็น 2 แบบเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เป็นแบบที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร และแบบที่ไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร
การเกิดโรคกระเพาะแบบมีแผลในกระเพาะอาหาร
การใช้ยาต้านการอักเสบ ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก (Aspirin และ NSAID) และยังมี ไอบูโพรเฟน อินโดเมทาซิน นาโพรเซน ไพร็อกซิแคม ไดโคลฟีแนก และอื่นๆ
การรับประทานยาเหล่านี้เข้าไปจะมีผลข้างเคียงคือ กระเพราะของเราจะบางลงจนอาจจะเกิดแผลในกระเพาะอาหารขึ้นได้ เพราะยาเหล่านี้จะไปกัด หรือทำลายเยื่อหุ้มกระเพาะที่เป็นชั้นป้องกันกระเพาะของเราจะกรดที่เราทานเข้าไป หรือน้ำย่อยอาหารเราเองก็เช่นกัน แต่เมื่อเยื่อป้องกันกระเพาะของเราบางลงก็จะส่งผลให้เกิดอาการแสบท้องปวดท้อง ไม่ว่าจะจากกรดที่กัดกระเพาะ หรือจากการรับประทานอาหารรสจัด หรือแสบจากแผลในกระเพาะอาหารก็ได้เช่นกัน
เกิดจากเชื้อโรคแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร (Helicobacterpylori)
ซึ่งจะอาศัยยอยู่บริเวณชั้นเมือกภายในกระเพาะอาหารแถวๆชั้นผิว และสามารถติดต่อกันได้ผ่านการทานอาหาร และดื่มน้ำที่ไม่สอาด หรือมีการปนเปื้อนเชื้อโรคเหล่านี้ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร จะสร้างสารที่มีสภาวะเป็นด่างออกมาเพื่อปกป้องตัวมันจากกรดที่อยู่ภายในกระเพาะอาหาร และยังสร้างสารซึ่งเป็นพิษมาทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร จนอักเสบ และเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมา เจ้าเชื้อโรคตัวนี้นั้นนอกจากจะเป็นที่มาของโรคกระเพาะแล้ว ยังอาจจะส่งผลให้เกิดเป็นโรคมะเร็งตามมาได้อีกด้วย
การเกิดโรคกระเพาะแบบไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร
การสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรานั้นเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระเพาะ ได้ง่าย อัตตราโอกาศในการเป็แผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น การรักษาทำได้ยาก ยาที่ใช้ในการรักษาแสดงผลได้ไม่เต็มที่ และเมื่อหายก็มีโอกาศที่จะกลับมาเป็นใหม่ได้ง่าย
ความเครียด ความเครียดสะสม และการพักผ่อนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
ทานอาหารไม่ตรงเวลา
ดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม ในปริมาณที่มากๆ
ทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด บ่อยครั้ง
ปัจจัยเหล่านี้ถึงจะยังไม่ก่อให้เกิดแผลในกระเพาะทันที แต่ก็มีโอกาศสูงที่จะทำให้กระเพาะเกิดการอักเสบ และเกิดแผลในกระเพาะอาหารตามมา และนำไปสู่การเป็นโรคกระเพาะ นั่นเอง
อาการที่บ่งบอกการเป็น โรคกระเพาะ
ปวด แสบ จุก แน่นท้องใต้ลิ้นปี่ เวลาท้องว่าง หรือหิว สามารถลดอาการลงได้เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป แต่ในบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยได้ และจะแสบค้างเมื่อทานอาหารรสจัดเข้าไป ทั้งรสเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด และสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการทานยารถกรด ซึ่งอาจจะปวดได้ทั้งตอนท้องว่าง ปวดแน่นท้องกลางดึก หรือการปวดแบบเป็นๆหายๆเรื้อรัง
ถ่ายดำ หรือถ่ายมีเลือด
อาเจียน หรืออาเจียนมีเลือดปน
กลืนลำบากมีอาการเจ็บ
ท้องอืด มีลมในท้อง
อิ่มง่ายกว่าปกติ น้ำหนักลด
โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นผู้ป่วยไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นทุกอาการ บางอาการก็อาจไม่เกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายแต่ก็ยังสามารถที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคกระเพาะได้
การวินิจฉัยจากหมอ
หากยังไม่แน่ชัดว่าผู้ป่วยนั้นเป็น โรคกระเพาะ หรือไม่ก็อาจจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นกลุ่มโรคอื่นๆที่เป็นอันตรายและต้องรีบเร่งต่อการรักษา
การตรวจสอบว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ โรคมะเรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในกระเพาะ และอาจจะเกิดการสับสนขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจะมีการตัดเอาชิ้นส่วนเนื้อของกระเพาะมาทำการตรวจสอบว่าพบก้อนเนื้อมะเร็งในกระเพาะอาหารหรือไม่
การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย อย่างที่ได้มีการกล่าวไปก่อนนี้ว่าเชื้อแบคทีเรียบางตัวเองก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคกระเพาะขึ้นได้ และการวินิจฉัยโรคที่ครบถ้วนจนทราบก็จะทำให้เราสามารถรักษาได้ตรงจุด และหายได้เร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนล่างของกระเพาะอาหารมาทำการตรวจสอบดูว่ามีเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือไม่ เพราะท่าหากพบเชื้อโรคเข้าก็จะต้องทำการกำจัดไปก่อนโดยจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ และหลังจากกำจัดเชื้อโรคไปแล้วก็จะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารต่อในลำดับถัดไป โดยจะอยู่ที่ระหว่าง 4 ถึง 8 สัปดาห์ โดยประมาณ
แต่ท่าหากหลังจากวินิจฉัยแล้วทำการรักษาแต่กลับพบว่าอาการนั้นไม่ดีขึ้น ก็จะต้องทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องเพื่อทำการตรวจสอบความรุนแรงและปัญหาเพื่อทำการดำเนินการรักษาต่อไป
แนวทางการป้องกัน
ไม่ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่
รับประทานอาหารที่สอาดและปลอดภัย
ไม่ทานยาต่างๆโดยไม่จำเป็น และควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ก่อนทานยา
หมั่นออกกำลังกาย
ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา
ไม่ทานอาหารรสเผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัดบ่อยเกินไป
พักผ่อนให้เพียงพอ
ไม่เครียด
แนวทาง การรักษา
ทานยาลดกรด โดยปกติแล้วเมื่อแพทย์ทำการตรวจสอบและวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นโรคกระเพาะนั้น แพทย์จะให้ทานยาลดกรดติดต่อกัน 4-8 สัปดาห์ โดยประมาณ และในกรณีที่พบเชื้อโรคแพทย์ก็จะให้ทานยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย 2 สัปดาห์ โดยประมาณ
งดบุหรี่ งดดื่มสุรา งดน้ำอัดรม กาแฟ และอาหารรสจัด เพราะจะทำให้อาการยิ่งหนักขึ้น และจะหายได้ช้าลง
รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรให้เกิดความหิว และควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเพื่อปรับสมดุลของท้องให้กลับมาสู่สมดุล
พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และคลายเครียด
ในช่วงของการรักษาควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อนๆไปก่อน จนกระเพาะเริ่มกลับสู่ปกติจึงจะกลับมารับประทานอาหารตามปกติ
งดทานยาโดยไม่จำเป็น เนื่อจากมียาหลายชนิดที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร และยังมียาบางชนิดที่ทำลายกระเพาะอาหาร เพราะฉะนั้นการจะรับประทานยาควรผ่านการแนะนำจากแพทย์ก่อนเพื่อไม่ให้อาการของโรคกระเพาะนั้นหนักขึ้น
ตัวช่วยเพิ่มเติม
GreenCurmin และ CurmaMax ผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน โดยขมิ้นชันนั้นเป็นสมุนไพรซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการรักษาโรคกระเพาะ กรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังไม่มีผลข้างเคียงเพราะเป็นธรรมชาติแท้ แต่โดยปกติแล้วขมิ้นชันนั้นไม่สามารถละลายน้ำได้ หรือความสามารถในการทำละลายน้ำต่ำจึงทำให้การรับประทานเข้าไปนั้นร่างกายไม่สามารถทำการย่อยได้ และไม่สามารถรับเอาประสิทธิภาพของขมิ้นชันไปได้อย่างสูงสุด รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆในท้องตลาดเองก็เช่นกันที่ไม่สามารถทำละลายขมิ้นชันได้อย่างแท้จริง ทำให้การรักษาโรคกระเพาะนั้นทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่GreenCurmin และ CurmaMax นั้นแตกต่าง เพราะผลิตภัณฑ์ของเรานั้นเป็นเจ้าของนวัตกรรมการทำละลายขมิ้นชันซึ่งชนะในเวทีรางวัลระดับโลกมาแล้วหลายหลายประเทศทั้วโลก เราจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่พูดได้อย่างแท้จริงว่ามีคุณสมบัติของขมิ้นชันอย่างครบถ้วยสมบูรณ์
อีกทั้งผลิตภัณฑ์ทั้งสองยังมีส่วนผสมของ พริกไทยดำ ซึ่งจากผลการวิจัยนั้น พริกไทยดำสามารถที่จะมาเร่งความสามารถของขมิ้นชันให้มีผลยาวนานมากขึ้น และมีความสามารถที่สูงขึ้น จึงทำให้ขมิ้นชันนั้นสามารถแสดงผลของการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นยังมีบร็อคโคลี่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการกำจักแบคทีเรียซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคกระเพาะ และอาการหายช้า หายยากของโรคกระเพาะอาหาร
ความแตกต่างระหว่าง CurmaMax กับ GreenCurmin คือ
GreenCurmin เป็นชนิดแคปซูล ทาน 2 เม็ดก่อนมื้ออาหาร เช้า กลางวัน และ เย็น อย่างต่อเนื่อง 1 กล่อง มี 30 แคปซูล ทานเมื่อเป็น กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ เพื่อรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง
CurmaMax เป็นแบบชนิดน้ำพร้อมดื่ม สามารถดื่มได้ทันทีเมื่อมีอาการ หรือ ดื่มสามเวลาหลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละ 1 ขวด ดื่มง่าย รสชาติเหมือนดื่มน้ำผลไม้
โดยหากสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TheGreenCurmin
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้า ได้ที่
เนื้อหาอื่นๆ